วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Parasite



PARASITE

1.Ascaris lumbricoides 

         เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคคือ Ascaris lumbricoides เป็นพยาธิตัวกลมมีขนาดใหญ่ ตัวผู้จะมีความยาว 15-30 ซม ตัวเมียจะมีความยาว 25-35 ซมตัวเมียจะออกไข่วันละประมาณ 200000 ฟองทำให้ง่ายต่อการตรวจอุจาระหาไข่พยาธิ


วงจรชีวิตของพยาธิ

Life cycle of Ascaris lumbricoides


พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก แย่งอาหารที่ย่อยแล้วในลำไส้กิน ตัวแก่มีอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี    มีสองเพศคือตัวผู้และตัวเมีย ตัวเมียจะวางไข่วันละประมาณ 200,000 ฟอง ไข่จะออกมาพร้อมกับอุจาระ   ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะไม่สามารถติดต่อ ไข่ที่ผสมแล้วจะเจริญเป็นตัวอ่อนในเวลา 10-21 วัน เมื่อคนกินในระยะนี้จะเป็นระยะติดต่อ   , depending on the environmental conditions (optimum: moist, warm, shaded soil).  เมื่อตัวอ่อนถูกกิน  , ตัวอ่อนจะไชทะลุผนังลำไส้  , ไปตามหลอดเลือดดำที่ไปเลี้ยงตับ เข้าสู่ปอด .  ตัวอ่อนจะเจริญเป็นตัวแก่ในปอดโดยใช้เวลาประมาณ10 ถึง 14 วัน ตัวแก่จะไชผ่านผนังของถุงลม เข้าหลอดลม เข้าคอ และถูกกลืน   เชื้อจะเจริญเป็นตัวแก่  ที่ลำไส้เล็ก.  ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งโตเป็นตัวแก่ใช้เวลา 2-3 เดือน ตัวแก่สามารถมีอายุ 1-2 ปี
โรคพยาธิไส้เดือนตัวกลมจะแพร่กระจายในภาคใต้มากกว่าภาคอื่นเนื่องจากเขตภาคใต้มีความชุ่มชื้นตลอดปี อากาศก็ไม่ร้อน โรคมักจะเป็นในเด็กเพราะเด็กมักจะกิน หรือเล่นบนพื้นดิน

อาการของโรค
อาการของโรคพยาธิไส้เดือนแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ
Ø อาการเกิดจากพยาธิตัวอ่อนกำลังเดินทาง ขณะที่ตัวอ่อนกำลังเดินทางจากลำไส้ไปปอดอาจจะทำให้เกิดไข้ ไอ หายใจแน่ หอบเหนื่อย เสมหะอาจจะมีเลือดปน อาจจะมีพยาธิตัวอ่อนออกมาด้วย บางคนอาจจะเกิดลมพิษอาการเหล่านี้มักจะเกิดภายหลังจากไดรับไข่พยาธิ 4-16 วัน
Ø อาการเกิดจากตัวแก่ เนื่องจากพยาธิตัวแก่จะแย่งอาหารเด็กอาจจะขาดอาหาร อาจจะมีลมพิษ หากมีพยาธิเป็นจำนวนมากอาจจะเกาะกันเป็นก้อนทำให้อุดทางเดินลำไส้หรือทางเดินน้ำดีทำให้เกิดอาการดีซ่านปวดท้องเนื่องจากพยาธิอุดลำไส้ เสียดท้อง คลื่นไส้อาเจียน  ตับอ่อนอักเสบ เนื่องจากพยาธิไช   ถุงน้ำดีอักเสบ  ไส้ติ่งอักเสบ ผู้ป่วยที่เป็นพยาธิไส้เดือนเวลามีไข้มักจะปวดท้องเนื่องจากพยาธิจะดิ้นเพราะมันทนต่อความร้อนไม่ได้

การวินิจฉัย
ตรวจพบตัวแก่ออกมาในอุจาระหรือในสิ่งที่อาเจียน
Ø ตรวจอุจาระพบไข่พยาธิ

ภาพ ไข่พยาธิ


ภาพ พยาธิตัวเเก่


การป้องกัน
Ø หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินเพราะจะทำให้มือสัมผัสกับไข่พยาธิ
Ø ให้ถ่ายอุจาระให้ห้องน้ำ ไม่ถ่ายอุจาระลงบนดิน
Ø กำจัดผ้าอ้อมอย่างเหมาะสม
Ø ล้างมือด้วยสบู่ก่อนรับประทานและเตรียมอาหาร
Ø หากไปเที่ยวประเทศที่มีระบบสาธารณะสุขไม่ดีต้องระวังน้ำเดิมและอาหารว่าอาจจะปนเปื้อนไข่พยาธิ
Ø ล้างผักและผลไม้ก่อนที่จะนำไปปรุงหรือรับประทานอาหาร


การรักษา
Ø Mebendazole ขนาด 100 มก.รับประทานวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน
Ø Albendazole ขนาด 400 มก.รับประทานครั้งเดียว หากไม่หาย(ยังตรวจพบไข่พยาธิ)ให้ซ้ำอีกครั้งใน 3 สัปดาห์
Ø Piperazine citrateยานี้เหมาะสำหรับรายที่สงสัยว่าพยาธิจะไปอุดลำไส้หรือท่อน้ำดี เพราะยาจะทำให้กล้ามเนื้อของพยาธิอ่อนแรงขนาดที่ใช้ 305 กรัมวันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 2 วัน





2.Strongyloides stercoralis

ก่อโรค Strongyloidiasis  เกิดจากพยาธิตัวกลมขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีชื่อว่า  Strongyloides stercoralis โรคนี้พบได้ทั่วไปในโลก โดยเฉพาะในเขตเมืองร้อน(tropic และ subtropic) เช่นประเทศในแถบตะวันออกไกล ย่านเอเชียอาคเนย์ สำหรับประเทศไทยในปีพ.ศ.2523-2524พบอัตราการติดเชื้อพยาธิชนิดนี้ทั่วประเทศคิดเป็นร้อยละ 0.43 นอกจากนี้พบได้ในทวีปอเมริกากลางและใต้ทวีปอัฟริกา ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ เป็นแหล่งระบาดของโรคนี้พยาธิชนิดนี้มีขนาดเล็กสามารถอาศัยอยู่ในร่างกายคนได้นานเป็นปี โดยไม่ทำอันตรายใดๆให้แก่ร่างกายคนนับว่าเป็นพยาธิตัวกลมที่ลึกลับและไม่มีผู้ใดคิดถึงขณะวินิจฉัยโรค
ผู้ป่วยที่เกิดโรคจากพยาธิชนิดนี้ส่วนมากพบร่วมกับภาวะการขาดอาหารและหรือมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำเช่น ในเด็กที่ขาดอาหารมักจะมีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือในผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังร่างกายอ่อนแอและมีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่นโรค leukemia, lymphoma, SLE, และโรคเรื้อนเป็นต้น หรือผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน อวัยวะในร่างกายนอกจากจะถูกทำลายโดยตัวพยาธิเองแล้วอาจถูกแทรกซ้อนด้วยการติดเชื้อชนิดอื่นได้ เช่น บักเตรี เชื้อรา หรือไวรัสเป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตค่อนข้างสูง ปัจจุบันพยาธิชนิดนี้สามารถถูกทำลายด้วยยาฆ่าพยาธิหลายชนิดแต่ส่วนมากการวินิจฉัยค่อนข้างล่าช้า ทำให้การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล


ลักษณะทั่วไป
Ø ตัวผู้ จะเป็น free  living  form  ขนาด 0.7 มม. X 40-50  ไมโครเมตร มีหลอดอาหารแบบ rhabditiform หางงอเข้าด้านท้อง  มี 2 spicules 
Ø ตัวเมีย จะมีทั้งที่เป็น free  living  form  ขนาด 1 มม. X  50-75 ไมโครเมตร หลอดอาหารแบบ rhabditiform ระบบสืบพันธุ์ชนิด 2 ท่อ  ภายใน uterus มีไข่เรียงแถวเดี่ยวประมาณ 30-40 ฟอง  และที่เป็น parasitic  form  ขนาด 2.2 มม. X 30-74 ไมโครเมตร  หลอดอาหารแบบ filariform ปลายหางยาวแหลม   อวัยวะสืบพันธุ์เป็นชนิด 2 ท่อ ใน uterus มีไข่ประมาณ 20 ฟอง
Ø ไข่  เป็น embryonated  egg ขนาด 50-58 X 30-34 ไมโครเมตร รูปร่างรี  เปลือกบางใสภายในมีตัวอ่อน ลักษณะคล้ายไข่ของพยาธิปากขอ
Ø ตัวอ่อน จะ hatch ออกจากไข่ใน lumen ของลำไส้เล็ก  เป็น rhabditiform lavae  ขนาด 200 X 25 ไมโครเมตร buccal  cavity สั้น genital  primodium ขนาดใหญ่  ซึ่งพบในอุจจาระของคน  พัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 และตัวอ่อนระยะที่ 3 (filariform larvae)  ขนาด  600 X 20ไมโครเมตร ปลายหางเว้า  เรียกว่า  “notch tail”  พบบนดิน ซึ่งตัวอ่อนระยะที่ 3 นี้เป็นระยะติดต่อของ      
     S. stercoralis    









วงจรชีวิต

 ภาพ วงจรชีวิตของ Strongyloides stercoralis


Ø วงชีวิตทางตรง
 พยาธิตัวเมียออกไข่ในเยื่อบุลำไส้ ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนแรบดิติฟอร์มออกมาอยู่ในลำไส้ ปนออกมาอยู่กับอุจจาระ เมื่ออุจจาระถูกถ่ายลงบนพื้นดินที่มีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม  ตัวอ่อนจะเจริญเป็น filariform lavar ซึ่งเป็นระยะติดต่อ ในสภาวะที่เหมาะสมนี้ ตัวอ่อนฟิลาริฟอร์มสามารถอยู่ได้เป็นสัปดาห์ เมื่อสัมผัสกับผิวหนังของโฮสต์ ก็จะไชผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสโลหิต ผ่านตับ หัวใจ มาปอด ไชทะลุถุงลมปอด คลานออกมาทางหลอดลม แล้วกลืนลงสู่หลอดอาหาร ลงสู่ลำไส้เล็กเจริญเป็นพยาธิตัวเต็มวัยฝังตัวอยู่ในเยื่อบุลำไส้เล็กส่วนต้น(duodenum) และส่วนกลาง (jejunum)

Ø วงชีวิตทางอ้อม
ตัวอ่อนแรบดิติฟอร์ม ที่ถ่ายปนออกมากับอุจจาระลงสู่พื้นดินที่มีสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ตัวอ่อนจะเจริญไปเป็นตัวเต็มวัยที่มีชีวิตอิสระ( free living  form) อยู่บนพื้นดินนั้น ตัวเต็มวัยจะมีหลอดอาหารแบบแรบดิติฟอร์ม ตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์กัน แล้วออกไข่เจริญเป็นตัวอ่อนแรบดิติฟอร์มและตัวเต็มวัยที่มีชีวิตอิสระวนเวียนอยู่เช่นนี้จนกระทั่งเกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  ตัวอ่อนแรบดิติฟอร์ทจะเจริญเป็นตัวอ่อนฟิลาริฟอร์มซึ่งเป็นระยะติดต่อ ไชผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสโลหิต ผ่านตับ หัวใจ มาปอด ไชทะลุถุงลมปอด คลานออกมาทางหลอดลม แล้วกลืนลงสู่หลอดอาหาร ลงสู่ลำไส้เล็กเจริญตัวเต็มวัยในลำไส้ต่อไป

Ø วงชีวิตอัตโนมัติ(autoinfection )
พยาธิตัวเมียออกไข่ปนปนอยู่ในอุจจาระ ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนแรบดิติฟอร์มในลำไส้ ในกรณีที่ผู้ป่วยท้องผูกอุจจาระคั่งค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนักนานกว่าปกติ ตัวอ่อนแรบดิติฟอร์มสามารถเจริญเป็นตัวอ่อนฟิลาริฟอร์ม ซึ่งเป็นระยะติดต่อ ตัวอ่อนระยะติดต่อที่อยู่ในลำไส้จะไชผ่านผนังของลำไส้บริเวณนั้นเข้าสู่หลอดเลือดฝอยและเข้าสู่กระแสโลหิต  ผ่านตับ หัวใจ มาปอด ไชทะลุถุงลมปอด คลานออกมาทางหลอดลม แล้วกลืนลงสู่หลอดอาหาร ลงสู่ลำไส้เล็กเจริญตัวเต็มวัยในลำไส้ต่อไป โดยไม่ต้องผ่านออกมากับอุจจาระกลายเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อบนพื้นดิน


พยาธิสภาพ
ทำให้เกิด Strongyloidiasis หรือ Strongyloidosis
Ø Cutaneous โดยการไชของระยะติดต่อ  ถ้ามีจำนวนมากจะมีการอักเสบของผิวหนัง
Ø Pulmonary  infection การเดินทางของตัวอ่อนผ่านปอด เกิดมีจุดเลือดออกในปอด,เกิดการอักเสบของหลอดลมเล็กในปอดและขั้วปอด


ภาพ Strongyloides stercoralis larva in lung


ระบาดวิทยา( Epidemiology )
การแพร่กระจายของพยาธิสตรองจิลอยเดสมักพบควบคู่ไปกับท้องถิ่นที่พบพยาธิปากขอ อุบัติการณ์เกิดโรคสูงในกลุ่มคนไข้ที่อยู่ร่วมกันในโรงพยาบาลโรคประสาทและในที่คุมขังนักโทษ


การวินิจฉัย
1.ตรวจหาตัวอ่อนแรบดิติฟอร์ม ในอุจจาระใหม่ๆและตัวอ่อนฟิลาริฟอร์มในอุจจาระเก่า
 2.นำอุจจาระมาทำการเพาะเลี้ยงเพื่อดูตัวอ่อนฟิลาริฟอร์ม



การป้องกัน
1.ให้การศึกษาถึงการติดต่อเข้าสู่ร่างกายของพยาธิ อย่าเดินเท้าเปล่า
2.ใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันการเจริญของพยาธิบนดิน
3.ระวังการใช้ยากดภูมิคุ้มกันซึ่งจะทำให้จำนวนพยาธิในร่างกายเพิ่มขึ้น







3.Gnathostoma spinigerum


ภาพ พยาธิตัวจี๊ด

พยาธิตัวจี๊ด (Gnathostoma spinigerum)cเป็นพยาธิตัวกลมที่ก่อให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต หรือเกิดความพิการได้ แม้จะพบได้ไม่บ่อยเท่าพยาธิชนิดอื่นๆ แต่มีความรุนแรงได้มาก พยาธิตัวจี๊ดชนิดนี้เป็นตัวก่อโรคที่สำคัญในคนบริเวณแถบเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะประเทศไทย พบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2379 ได้จากก้อนเนื้องอกในกระเพาะอาหารของเสือที่ตายในสวนสัตว์กรุงลอนดอน ต่อมาปีพ.ศ. 2432 มีรายงานการตรวจพบในไทยโดยพบพยาธิตัวจี๊ดจากเต้านมหญิงไทยเป็นครั้งแรก ในระหว่างปี พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2480 ศ.นพ.เฉลิม พรหมมาศ และศ.นพ.สวัสดิ์ แดงสว่าง ได้ทำการศึกษาและรายงานวงจรชีวิตพร้อมกับแสดงให้เห็นว่า กุ้งไรและปลาน้ำจืด เป็นโฮสต์กลางที่สำคัญของตัวอ่อนระยะที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
จากนั้นมีรายงานการเกิดโรคในอวัยวะต่างๆ เรื่อยมา โดยมีรายงานการตรวจพบจากประเทศไทยมากที่สุดเนื่องจากคนไทยชอบกินอาหารดิบๆ เช่น ปลาน้ำจืดอย่างสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะส้มฟัก มักถูกกล่าวถึงบ่อยในรายงานการติดเชื้อพยาธิตัวจี๊ด นอกจากนี้ยังมี ปลาร้า ลาบดิบ แหนมสด และปลาเผาที่ปรุงไม่สุก เป็นต้น พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคนี้ถึงปีละ 1,200-15,00 คน ประเทศไทยมีรายงานการระบาดของพยาธิชนิดนี้ในหมู่ประชากรเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีรายงานการตรวจพบที่ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่ามาเลเชีย โรคพยาธิตัวจี๊ด บางครั้งเรียกว่า Yangtze edema หรือ choko-fushu ในภาษาญี่ปุ่น


สาเหตุ



Ø ตัวแก่ของพยาธิตัวจี๊ดทั้งตัวผู้และตัวเมียยาวประมาณ 1.5-3.0 ซม. มีลักษณะลำตัวกลมยาว หัวคล้ายลูกฟักทอง ทั้งหัว และตัวจะมีหนาม อาศัยอยู่ที่ผนังกระเพาะอาหารของแมวและสุนัข หลังจากผสมพันธุ์ ตัวเมียจะปล่อยไข่ลงไปในกระเพาะอาหาร ถูกขับถ่ายออกมาพร้อมอุจจาระ ต่อมาเกิดการฟักตัว และเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนหลายระยะ
Ø ตัวอ่อนของพยาธิตัวจี๊ดในระยะติดต่อมีลักษณะคล้ายพยาธิตัวเต็มวัย แต่มีหนามน้อยกว่าและมีขนาดเล็กกว่า มักจะพบขดตัวอยู่ในถุงหุ้ม ซึ่งฝังตัวอยู่ในเนื้อของสัตว์พาหะ ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ จากนั้นจะไปเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนระยะที่สามในปลา ไก่ กบ งู และหนู เป็นต้น
Ø ส่วนพยาธิที่พบในคนจะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ และมีขนาดยาวประมาณ 0.4-0.9 ซม. ในประเทศไทยมีสัตว์ประมาณ 44 ชนิดที่ตรวจพบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่ ได้แก่ ปลาน้ำจืด เช่น ปลาช่อน ปลาไหล ปลาดุก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด สัตว์จำพวกนก รวมทั้งเป็ดและไก่ สัตว์จำพวกหนู กระแต ส่วนสัตว์ที่เป็นโรคพยาธิตัวจี๊ดมีหลายชนิด รวมทั้งสุนัข และแมว
     การสำรวจปลาไหลในเขตจังหวัดภาคกลาง พบว่ามีการกระจายของพยาธิตัวจี๊ดอยู่หลายจังหวัด เช่น อ่างทอง อยุธยา ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี สระบุรี เป็นต้น อาหารที่ปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารหมักที่ทำจากปลาน้ำจืด เช่น ส้มฟัก ปลาร้า ปลาเจ่า หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ พบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่เช่นกัน

วงจรชีวิตของพยาธิตัวจี๊ด
ตัวแก่ของพยาธิทั้งตัวผู้ และตัวเมียจะอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของสุนัข และแมว หลังจากพยาธิผสมพันธุ์แล้ว พยาธิตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมากับอุจจาระของสัตว์เหล่านี้ เมื่อไข่ลงน้ำจะฟักตัวออกมาเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 ตัวกุ้งไรจะกินตัวอ่อนระยะนี้และไปเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 เมื่อปลากินกุ้งไรที่มีพยาธิ พยาธิจะเจริญในปลาเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะติดต่อ เข้าไปฝังอยู่ตามกล้ามเนื้อของสัตว์เหล่านี้  ถ้าสุนัข หรือแมวกินปลานี้เข้าไป พยาธิก็จะไปเจริญเป็นตัวแก่ในกระเพาะอาหาร แต่ถ้าคนกินปลาซึ่งมีพยาธิระยะติดต่อเข้าไป พยาธิก็จะคืบ-คลานหรือไชไปตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ยังไม่มีรายงานว่าพยาธินี้เจริญเป็นตัวแก่จนสามารถออกไข่ได้ในคน แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานพบตัวแก่ในอวัยวะของคนได้ แต่ไม่บ่อยนัก


ภาพ วงจรชีวิตของพยาธิตัวจี๊ด


การติดต่อ
พยาธิตัวจี๊ดสามารถติดต่อไปในคนทุกเพศทุกวัย โดยการกินตัวอ่อนระยะติดต่อที่ปะปนอยู่ในเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาน้ำจืด หรืออาจติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์โดยไชผ่านทางรก นอกจากนี้พยาธิยังสามารถไชเข้าทางผิวหนังบริเวณที่เป็นแผล โดยเฉพาะในคนบางกลุ่มที่ใช้เนื้อสัตว์สดๆ เช่น กบ ปลา พอกแผล เพื่อทำให้หายเร็วขึ้น
การติดต่อของพยาธิชนิดนี้ในคน เกิดได้โดยคนรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ประเภท ปลา, กบ, ไก่ เป็นต้น เมื่ออาหารที่มีพยาธิปะปนอยู่ ถูกย่อย ในกระเพาะอาหาร พยาธิตัวแก่จะหลุดออกมา และเริ่มชอนไชเข้าไปใน อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ตา ปอด ช่องท้อง ทางเดินปัสสาวะ สมองไขสันหลัง เป็นต้น ก่อให้เกิดความผิดปกติในระบบต่างๆ
โรคพยาธิตัวจี๊ดติดต่อโดยการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก เช่น ปลา ไก่ กบ เป็นต้น ตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ในเนื้อสัตว์เหล่านี้จะไชผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่กระแสเลือดไปยังตับและไปสู่อวัยวะหรือเนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ ผิวหนัง ปอด ตา สมอง เป็นต้น
คนติดโรคได้โดยทานปลาดิบที่มีตัวอ่อนระยะที่สามของพยาธิตัวจี๊ด สัตว์อื่นๆ ก็เช่นกันสามารถติดโรคนี้ได้ถ้าทานปลาที่มีตัวอ่อนชนิดนี้ เช่น ไก่ หมู หรือนก เป็นต้น เมื่อคนทานเนื้อของสัตว์ดังกล่าวแบบดิบๆ สุกๆ ก็สามารถติดโรคนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากคนไม่ใช่ที่อยู่ตามธรรมชาติในวงจรชีวิตของพยาธิชนิดนี้ ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ในร่างกายคนได้ จึงเดินแพ่นพล่านไปตามเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆในร่างกาย ซึ่งเมื่อเดินไปตามชั้นผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังบวม เรียกว่าบวมเคลื่อนที่ ตัวอ่อนที่เคลื่อนนี้อาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 12 ปี



อาการ
Ø อาการจะเกิดภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังจากรับประทานปลาดิบหรือเนื้อดิบของสัตว์ที่มีตัวอ่อนอยู่ โดยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายไหล ใบหน้าร้อน คัน เป็นลมพิษ บางรายอาจมีอาการจุกเสียดแน่นหรือปวดท้อง
Ø อาการที่เกิดจากพยาธิไชอยู่ใต้ผิวหนัง ตามลำตัว แขน ขา และบริเวณใบหน้า ทำให้บวมแดงบริเวณนั้นหรือเห็นเป็นรอยทางแดงๆ ตามแนวที่พยาธิไชผ่านไป อาการบวมแดงนี้ จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์แล้วจะหายไปเองแม้ไม่ได้รับการรักษา หลังจากนั้นอาจจะบวมขึ้นมาใหม่ในบริเวณอื่นใกล้ๆ กัน บางครั้งทำให้เกิดเป็นก้อนคล้ายเนื้องอกตามอวัยวะต่างๆ บางรายพบว่าพยาธิไชไปตามเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง พบเป็นก้อนนูนใต้ผิวหนัง ซึ่งเคลื่อนที่ได้
Ø อาการของผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติตามแต่ตำแหน่งที่พยาธิไชเข้าไป พยาธิอาจไชไปอวัยวะที่สำคัญอื่นๆ เช่น ตา ปอด กระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะถ้าไปที่สมองจะทำให้อาเจียน คอแข็ง ปวดตามเส้นประสาทได้
Ø สำหรับอาการทางระบบประสาท มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก บางรายมีอาการเป็นทันทีภายในเวลาไม่ถึงนาที เช่น มีอาการปวดที่แขน ขา ลำตัว หรือปวดศีรษะ มักจะเป็นลักษณะปวดร้าวรุนแรงวิ่งไปตามเส้นประสาท คล้ายไฟช็อต นอกจากนี้ยังพบอาการแขนขาชา หรืออ่อนแรง ปากเบี้ยว กรอกตาไม่ได้ ซึ่งมักเป็นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพยาธิไชเข้าไขสันหลังหรือสมอง ในบางกรณีทำให้เกิดภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง คนไข้จะซึมลงหมดสติ ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ตัวพยาธิสามารถไชไปตามที่ต่างๆ ก่อให้เกิดการทำลาย เซลล์ประสาท มีเลือดออกในเนื้อสมอง และมีสมองบวม ทำให้ผู้ป่วย มีอาการเลวลงได้
Ø ในกรณีที่พบในลำไส้ ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง อาจพบก้อนโตในท้อง มีเลือดออกในทางเดินอาหารและลำไส้ หรือพบลำไส้อุดตัน ส่วนมากพบทำให้เกิดโรคที่ลำไส้ใหญ่ หรือพบที่ทวารหนัก มีรายงานทำให้เกิดไส้ติ่ง และช่องท้องอักเสบ ถ้าไปที่ปอด จะทำให้ปอดและเยื่อหุ้มปอดเกิดการอักเสบ กรณีไปที่ลูกตา ทำให้ตาบวม และแดง มองภาพไม่ชัด โดยมากพบตัวแก่ระยะสามในช่องส่วนหน้าของลูกตา หรือพบพยาธิตัวแก่ทำให้เกิดแผลที่กระจกตาดำ



การวินิจฉัย



1.     การจะบอกว่าเป็นโรคพยาธิตัวจี๊ดแน่นอน ต้องตรวจพบตัวพยาธิ ซึ่งอาจจะไชออกมาทางผิวหนังเอง แต่โดยทั่วไปมักไม่พบพยาธิแม้จะผ่าเข้าไปในบริเวณที่บวม
2.     ดังนั้นการที่จะบอกว่าเป็นโรคนี้ จึงมักดูจากอาการของโรคว่ามีอาการเจ็บ ปวด บวมเคลื่อนที่ได้ และมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หรือไม่
3.     เจาะเลือด หรือน้ำไขสันหลังเพื่อตรวจด้วยวิธีทางอิมมูโนวินิจฉัย หรือตรวจโดยใช้เทคนิคพิเศษทางปฏิกิริยาอิมมูน หรือตรวจปฎิกิริยาทางภูมิคุ้มกันต่อพยาธิ์ตัวจี๊ดที่ผิวหนัง
4.     การตรวจน้ำไขสันหลัง ตรวจหาระดับโปรตีน น้ำตาล ตรวจพบเซลล์เม็ดเลือดแดง หรือเห็นลักษณะของน้ำไขสันหลังเป็นสีแดงเรื่อ ตรวจพบเซลล์เม็ดเลือดขาว 200-300 ตัว พบว่าเป้นชนิดอิโอซิโนฟิลร้อยละ30-50
5.     การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง สามารถช่วยบ่งบอกถึงตำแหน่งที่เกิดพยาธิสภาพได้ โดยครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย อาจพบลักษณะเลือดออกในสมอง โพรงน้ำในสมองอุดกั้น หรือลักษณะของการระคายเยื่อหุ้มสมอง


การรักษา
Ø โดยทั่วไปจะรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดบวม ยาแก้แพ้แก้คัน เป็นต้น
Ø แพทย์อาจพิจารณาให้ยารักษาโรคพยาธิ เช่น อัลเบนดาโซน ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละครั้ง หรือวันละสองครั้ง เป็นเวลา 21 วันติดต่อกัน ตัวยาเป็นสารไนโตรอิมิดาโซลสังเคราะห์ ออกฤทธิ์โดยจับกับทูบูลิน ยับยั้งการสร้างไมโครทูบุล ลดการดูดซึมกลูโคส และยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์ฟูมาเรตรีดักเทสในตัวพยาธิ ระดับยาในน้ำไขสันหลังคิดเป็นร้อยละ 40 ของระดับยาในเลือด
Ø หากพบว่าพยาธิตัวจี๊ดไช มาตามผิวหนัง หรือนัยน์ตาสามารถผ่าตัดออกได้ แต่มักมีปัญหาคือ พยาธิ จะไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ทำให้การผ่าตัดนำตัวพยาธิออกนั้น ทำได้ลำบาก
Ø หากพยาธิไชเข้าสมอง หรือไขสันหลังแล้ว จะไม่สามารถผ่าตัดได้



การป้องกัน
Ø ไม่รับประทานเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ เช่น อาหารประเภท ยำ ลาบ หมก พล่า รวมทั้งปลาร้า ปลาเจ่า ส้มฟัก ควรรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกแล้ว
Ø ไม่ใช้เนื้อสด โดยเฉพาะเนื้อกบ เนื้อปลา พอกบริเวณบาดแผล
Øให้ความรู้เรื่องสาเหตุและการป้องกันโรคพยาธิแก่ประชาชน การป้องกันถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับโรคพยาธิตัวจี๊ด





4.Capillaria philippinensis

เป็นพยาธิตัวกลมขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก ทำให้เกิดท้องร่วงรุนแรงและเรื้อรัง Chitwood และคณะได้รายงานพยาธิเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2506 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ถือเป็นรายแรกในโลก สี่ปีต่อมา ระหว่างปี พ.ศ.2510 ถึง พ.ศ.2512 ได้เกิดการระบาดใหญ่บนเกาะลูซอนในประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้ป่วยติดเชื้อชนิดนี้มากกว่า 1000 ราย และเสียชีวิตร้อยละ 30  ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการท้องร่วงเรื้อรัง ซูบผอม และขาดอาหารอย่างรุนแรง จนถึงกับเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษา โรคนี้มีรายงานพบเฉพาะในทวีปเอเชีย เช่นประเทศฟิลิปปินส์ ไทย และญี่ปุ่น และเร็วๆนี้มีรายงานจากประเทศอิหร่าน
ในประเทศไทยมีการพบครั้งแรกเมื่อปี 2516 ที่ อ.บางพลี  จ.สมุทรปราการ และในปี 2524 มีรายงานการระบาดที่ อ.บึงไพร จ.ศรีสะเกษ  พบผู้ป่วยนับ 100 ราย และมีผู้เสียชีวิต 9 ราย จากนั้นก็ยังมีรายงานการพบผู้ป่วยโรคพยาธิแคปิลลาเรียเป็นระยะในทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 มีรายงานการระบาดของโรคท้องร่วงเรื้อรังที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิแคปิลลาเรียครั้งแรกในไทย ที่หมู่บ้าน อาหวด หมู่ 9 ตำบลดินแดง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 20 ราย และต่อมามีรายงานจำนวนเพิ่มเติมจากการระบาดในจังหวัดศรีสะเกษอีกเป็นจำนวนมาก รายงานส่วนใหญ่ผู้ป่วยอยู่หรือเคยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ นครพนม อุดรธานี มหาสารคาม ภาคกลางพบที่ สมุทรปราการ สระบุรี อยุธยา นครปฐม กำแพงเพชร ภาคเหนือพบที่ เพชรบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่มีนิสัยชอบทานอาหารประเภทดิบๆ สุกๆ เช่น ปลาดิบ โดยเฉพาะก้อยปลา กุ้งดิบ หรือเครื่องในวัวสุกๆ ดิบๆ


สาเหตุ
โรคพยาธิเเคปิลาเรีย เป็นโรคท้องร่วงเรื้อรังที่เกิดจากการกินปลาดิบ นอกเหนือไปจากโรคพยาธิใบไม้ในตับ
โรคพยาธิใบไม้ในลำไส้ เเละโรคพยาธิตัวจี๊ด โดยปลาที่นำมาปรุงเป็นอาหารเป็นพวกปลาน้ำจืด ที่ปรุงไม่สุก เช่น ก้อยปลา ก็จะได้รับตัวอ่อนพยาธิระยะติดต่อที่อยู่ในลำไส้ของปลาเข้าไป ในปลาเกล็ดน้ำจืด เช่น ปลาขาวนา ปลาสร้อย ปลาซิว จะมีตัวอ่อนระยะติดต่อในลำไส้ เมื่อกินแบบดิบๆ หรือสุกๆ ดิบๆ ตามแบบชาวพื้นเมืองอีสาน พยาธิจะฟักตัวเพิ่มขึ้นอย่าง
มากมาย โดยพยาธิตัวเมียที่อยู่ในลำไส้คนจะออกลูกได้ทั้งเป็นไข่และเป็นตัว ส่งผลต่อลำไส้เล็กของคนอย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้เซลล์บุผนังลำไส้เล็กสูญเสียหน้าที่ในการดูดซึมอาหาร โดยเฉพาะโปรตีน และเกลือแร่ ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ


วงจรชีวิตของพยาธิแคปิลลาเรีย
ยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน ตัวแก่ในลำไส้มีขนาดเล็กมาก สีขาว ตัวแก่เพศผู้มีความยาว 2.3 ถึง 3.17 มิลลิเมตร ตัวแก่เพศเมียมีความยาว 2.5 ถึง 4.3 มิลลิเมตร ไข่มีขนาด 45x21 ไมครอน มีรูปร่างคล้ายถั่ว โดยที่ขั้วทั้งสองข้างมีลักษณะแบน พยาธิอาศัยอยู่ในปลาน้ำจืด สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและเจริญเติบโตของตัวอ่อน เข้าใจว่า พวกนกกินปลา เป็นแหล่งเก็บเชื้อ เมื่อสัตว์หรือคนทานปลาดิบๆ เข้าสู่รางกาย ตัวอ่อนจะเจริญเป็นตัวแก่ในลำไส้เล็กส่วนต้น โดยเฉพาะบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น พบว่ามีการเพิ่มจำนวนในลำไส้คน และเกิดการติดเชื้อภายในร่างกาย นอกจากนี้เชื่อว่ามีการติดเชื้อระหว่างคนกับคนได้
พบว่าปลาน้ำจืด 6 ชนิด ได้เเก่ ปลาไน ปลาซิว ปลาตะเพียนขาว ปลากริม ปลาหัวตะกั่ว เเละปลาหางนกยูง สามารถติดเชื้อพยาธินี้ได้ เเต่ไม่ว่าจะเป็นปลาชนิดใดก็ตาม ก็ควรที่จะปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน


อาการ
ส่วนมากเป็นในผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 20-40 ปี อาการของผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีลักษณะการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำเรื้อรังนานนับเดือน บางครั้งถ่ายอุจจาระวันละ 10-15 ครั้ง อุจจาระมีกากอาหารที่ไม่ย่อย มีไขมันลอย ท้องร้องโครกคราก โดยเฉพาะตอนกลางคืน ผู้ป่วยมักไม่มีไข้ ช่วงแรกรับประทานอาหารได้ดี แต่imageน้ำหนักตัวลดลงอาจถึง 10 กก.ในเวลาไม่กี่เดือนถ้ามีอาการรุนแรงจะพบภาวะซีด เบื่ออาหาร ร่างกายซูบผอม กล้ามเนื้อลีบ อ่อนเพลีย ใบหน้าบวม ท้องโต มานน้ำ ขาและเท้าบวมกดบุ๋ม บางรายความดันโลหิตต่ำ เกิดภาวะช็อก หากตรวจไม่พบพยาธิในอุจจาระ อาจถูกสงสัยว่าเป็นโรคไต ตับ หัวใจ เอดส์ หรือมะเร็งลำไส้ เนื่องจากมีอาการคล้ายกัน การวินิจฉัยโรคที่ล่าช้า ทำให้รักษาไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยกรณีที่โรครุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเกิดการสูญเสียโปรตีนทางลำไส้ มีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ สูญเสียการดูดซึมน้ำตาลและไขมัน ถ้าเป็นรุนแรงและทิ้งไว้นาน ผู้ป่วยอาจถึงกับเสียชีวิตได้



พยาธิสภาพของโรคนี้
 จะพบว่าผนังลำไส้เล็กหนา พื้นผิวนูน ลำไส้มักจะพองและมีของเหลวขังอยู่ภายใน ตรวจของเหลวเหล่านี้พบตัวแก่ ตัวอ่อน และไข่ ของพยาธิชนิดนี้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบของเหลวชนิดเดียวกันนี้ได้ที่ กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ทางเดินหายใจส่วนต้น และลำไส้ใหญ่ เมื่อตรวจชิ้นเนื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบตัวแก่และตัวอ่อนฝังตัวที่บริเวณกระเปาะของเยื่อบุผิว บางครั้งส่วนปลายของตัวแก่ไชทะลุถึงชั้นกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ ในชั้นนี้อาจพบตัวอ่อนและไข่ฝังอยู่ด้วย โดยทั่วไปผิวโบกของลำไส้มักจะแบนราบและหดหายไป
พยาธิสภาพดังกล่าวเป็นสาเหตุทำให้การดูดซึมอาหารเป็นไปด้วยความลำบาก ทำให้ผู้ป่วยเกิดสภาวะขาดอาหารได้ นอกจากนี้ยังพบช่องว่างในซัยโตพลาสม์ของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อลาย และไต เนื่องจากเกิดภาวะโปแตสเซียมต่ำในเลือด ที่ตับพบการตายของเซลล์บริเวณส่วนกลางของโลบูล และพบการเปลี่ยนแปลงของสารไขมันในตับ นอกจากนี้ยังอาจพบร่วมกับพยาธิอื่นๆ ได้ เช่น พบพยาธิปากขอ พยาธิในตับ พยาธิไส้เดือนกลม พยาธิแส้ม้า และพยาธิใบไม้ในตับ เป็นต้น



การวินิจฉัย
โดยการตรวจอุจจาระพบไข่ ตัวแก่หรือตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้ หรือตรวจชิ้นเนื้อพบตัวแก่หรือตัวอ่อนภายในลำไส้ ซึ่งในทางปฏิบัติการวินิจฉัยโรค ทำได้อย่างยากลำบาก เพราะต้องตรวจอุจจาระซ้ำหลายครั้ง จากการค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทางคณะวู้วิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ค้นพบวิธีการตรวจวินิจฉัย และพัฒนาวิธีอิมมิวโนบลอทติ้ง เพื่อตรวจหาแอนติบอดี้ ที่พยาธิแคปิลลาเรียสร้างขึ้นในซีรั่มผู้ป่วย แทนการตรวจหาปรสิตจากอุจจาระ และวิธีการใหม่นี้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำถึงร้อยละ 100


การรักษา
โรคนี้สามารถทำให้รักษาให้หายขาดได้ ด้วยการกินยาฆ่าพยาธิ ติดต่อกันนาน 10 วัน เป็นอย่างน้อย และให้โปรตีนเสริมเป็นไข่ขาวต้มสุก ดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทน อาการถ่ายเหลวจะดีขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์ ผู้ป่วยมีร่างกายอ่อนเพลีย จึงต้องให้น้ำเกลือเเร่ เเละอาหารที่มีโปรตีนสูงๆ ร่วมด้วย ยาที่ให้ผลดีที่สุด คือ mebendazole เเละ albendazole


การป้องกันโรค
โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการกินปลาน้ำจืดที่ปรุงสุกเเล้ว การถ่ายอุจจาระลงส้วมให้ถูกสุขลักษณะ







อ้างอิง


      ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ กรุงเทพ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น